วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างการสอนหน่วยนก สอนเรื่องลักษณะของนก โดยแตกMapในแต่ละด้านคือ
ร่างกาย
อารมณ์

สังคม
สติปัญญา
แล้วให้เราลองแตก Map ในหน่วยที่เราจะสอนเอง
อาจารย์ตรวจบล็อกเพื่อดูความคืบหน้า

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2554

นักทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ด้านสติปัญญา
เพียเจต์(Piaget)
-เด็กเกิดความพร้อมทางกระบวนการคิดที่เรียกว่า โครงสร้างทางสติปัญญา
-เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการสัมผัสและการเคลื่อนไหว
-ประสบการณ์เดิมมีผลต่อการเรียนรู้และการรับรู้ประสบการณ์ใหม่
บรูเนอร์(Bruner)
-การเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของร่างกาย
-สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา
-สมองมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้
-เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ด้านสังคม
อิริคสัน(Erikson)
-สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
-การอบรมเลี้ยงดู การให้ความรัก ความอบอุ่นจะช่วยพัฒนาบุคลิกภสมที่เหมาะสม
-เด็กควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการตามวัยที่เหมาะสม
ด้านอารมณ์/จิตใจ
ซิกมันต์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)
-เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีความสำคัญต่อการวางรากฐานของบุคลิกภาพ
-เด็กควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจตามวัยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี
-ผู้ใหญ่มีอิทธิต่อพัฒาการทางบุคลิกภาพ
ด้านร่างกาย
กลีเซลล์(Gesell)
-พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
-การเรียนรู้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ถ้าเด็กมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม
-ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน
นักจิตวิทยาการเรียนรู้
สกินเนอร์(Skinner)
-การเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญช่วยทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่อิสระเหมาะสมกับเด็กจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้

สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เป็นลำดับ
1.การนับ
2.การรู้จักตัวเลข
3.การชั่ง ตวง วัด
4.รูปร่างรูปทรง
5.พื้นที่
6.การเพิ่มและลดจำนวน
7.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
8.การเปรียบเทียบ
9การจัดหมวดหมู่
10.การจำแนกประเภท
11.การเรียงลำดับ
12.เวลา

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 2 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2554

ความสำคํญของคณิตศาสตร์
คือ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญ
คณิตศาสตร์อนุบาลมีความแตกต่างกับประถมอย่างไร
ตอบ -อนุบาลจะใช้ของจริงหรือของจำลองเป็นแบบรูปธรรมแทนตัวเลข ลองลงมาเป็นรูปภาพและสัญลักษณ์
-ประถมจะเป็นแบบนามธรรม มีเนื้อหาสาระเป็นรายวิชา
พัฒนาการทางสติปัญญา คือการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญาที่เป็นไปตามลำดับขั้นในแต่ละช่วงอายุ
ช่วงอายุ
0-2 ปี ช่วงสมองกำลังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
2-4 ปี สามารถใช้คำศัพท์ได้มากขึ้น
4-6 ปี เด็กเริ่มมีคำศัพท์มากขึ้นใช้คำได้เป็นประโยค คำมีความหมายมากขึ้น เริ่มใช้เหตุผลได้แต่ยังไม่สมบูรณ์
การทำงานของสมองของเด็กปฐมวัย:สมองจะทำงานซึมซับข้อมูลจากการใช้ประสาทสัมผังทั้ง 5 แล้วไปสอดคล้องกับความรู้เดิม ปรับเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นช่วงของพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
หน่วยและศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตรในการเขียนแผนการสอน
- หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา : คุณสมบัติของสี่เหลี่ยม น้ำหนัก
- หน่วยกลางวันกลางคืน : ระยะทางกับเวลา
- หน่วยฤดูร้อน เมื่อครูชูตัวเลขใดให้กลุ่มนั้นนั่งลง : ความสัมพันธ์
- หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน : ให้เด็กติดเรียงสัญญานไฟจราจร
- หน่วยวันพ่อ จับคู่กระดาษที่มีความยาวเท่ากัน : การเปรียบเทียบ
- หน่วยวันปีใหม่ : พื้นฐานการบวก
- หน่วยไม้ดอกไม้ประดับ : เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2554

"วันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรกได้เจอกับอาจารย์เป็นวิชาแรก และเพื่อนปฐมวัยอีกหลายคนบรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมีการถามตอบเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
การการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นแบบบูรณาการผ่าน 6 กิจกรรมหลัก โดยนำสื่อมาช่วยในการสอน
รูปแบบการสอนปฐมวัย
- แบบไฮสโคป คือ เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
- แบบมอนเตสซอรี่ คือ การศึกษาควรเริ่มตั้งแต่เกิด กระบวนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ของเด็กคือช่วง 6 ปีแรกของชีวิตและในการพัฒนาความรู้ควาเข้าใจของเด็กปฐมวัยเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล
- แบบวอลดอร์ฟ

- แบบโปรเจ็ค แอปโพส
- แบบบูรณาการ