วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2554

นักทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ด้านสติปัญญา
เพียเจต์(Piaget)
-เด็กเกิดความพร้อมทางกระบวนการคิดที่เรียกว่า โครงสร้างทางสติปัญญา
-เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการสัมผัสและการเคลื่อนไหว
-ประสบการณ์เดิมมีผลต่อการเรียนรู้และการรับรู้ประสบการณ์ใหม่
บรูเนอร์(Bruner)
-การเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของร่างกาย
-สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา
-สมองมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้
-เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ด้านสังคม
อิริคสัน(Erikson)
-สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
-การอบรมเลี้ยงดู การให้ความรัก ความอบอุ่นจะช่วยพัฒนาบุคลิกภสมที่เหมาะสม
-เด็กควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการตามวัยที่เหมาะสม
ด้านอารมณ์/จิตใจ
ซิกมันต์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)
-เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีความสำคัญต่อการวางรากฐานของบุคลิกภาพ
-เด็กควรได้รับการตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจตามวัยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี
-ผู้ใหญ่มีอิทธิต่อพัฒาการทางบุคลิกภาพ
ด้านร่างกาย
กลีเซลล์(Gesell)
-พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
-การเรียนรู้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ถ้าเด็กมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม
-ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน
นักจิตวิทยาการเรียนรู้
สกินเนอร์(Skinner)
-การเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญช่วยทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่อิสระเหมาะสมกับเด็กจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้

สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เป็นลำดับ
1.การนับ
2.การรู้จักตัวเลข
3.การชั่ง ตวง วัด
4.รูปร่างรูปทรง
5.พื้นที่
6.การเพิ่มและลดจำนวน
7.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
8.การเปรียบเทียบ
9การจัดหมวดหมู่
10.การจำแนกประเภท
11.การเรียงลำดับ
12.เวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น